คำถามที่พบบ่อย (Q&A)

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า
หมู่ที่ 5 ตำบลหนองเต่า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15110
 
หมายเลขโทรศัพท์ 0-3677-6043
หมายเลขโทรสาร 0-3677-6042
 

การสร้างบ้าน การขอเลขประจำบ้าน และการรื้อถอนบ้าน

          บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของเรา การมีบ้านเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไป

          ดังนั้น การปลูกบ้านที่ได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบจึงเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของชีวิตในฐานะเป็นพลเมืองดีและเสริมสร้างความดีงามแก่จิตใจ

ขั้นตอนในการปลูกสร้างบ้าน

  1.  ในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร ที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาตแบบแปลนเสียก่อนและจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้โดยยื่นคำร้อง ได้ที่สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา และสำนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานคร อำเภอ แล้วแต่กรณี
  2.  บริเวณนอกเขตควบคุมตามข้อ 1 บ้านหรืออาคารที่ปลูกสร้างไม่ต้องอนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย

การแจ้งการปลูกสร้างบ้านและผู้มีหน้าที่รับแจ้ง

          เมื่อปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ คือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณีเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท

หลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้าน

  1. หนังสือหรือเอกสารได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้าน หรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศ ใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง)
  2.  สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง กรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัว ของผู้มอบและหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย
  3. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี)
  4.  ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง

วิธีการรับแจ้ง

          เมื่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขหมายประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินกรในเรื่องการ ย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านในโอกาสต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้าน ที่นายทะเบียน กำหนดให้นั้น ให้เจ้าบ้านไปจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้วบ้าน ซึ่งเห็นได้ชัดแจ้ง

การรื้อถอนบ้านซึ่งมีเลขประจำบ้าน

          เมื่อได้มีการรื้อถอนบ้านหรืออาคารโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก หรือรื้อเพื่อไป ปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งภายใน 1 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จพร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

          การก่อสร้าง การดัดแปลง การรื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคาร ภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้อง กันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคาร

หลักเกณฑ์  ขออนุญาตก่อสร้าง

  1.  ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต(ข.1) ที่สำนักการช่าง
  2.  หลักฐานอื่นๆ ที่ต้องมายื่นประกอบแบบแปลนดังนี้

                    – แบบแปลนก่อสร้าง 5 ชุด

                    – ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ขออนุญาต 1 ชุด

                    – ภาพถ่ายเอกสาร, บัตรประจำตัวประชาชน(หน้า-หลัง) ผู้ขออนุญาต 1 ชุด

                    – ภาพถ่ายเอกสารโฉนดที่ดิน, นส.3 ถ่านต้นฉบับจริงทุกหน้า 1 ชุด

                    – รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ

  1. กรณีสร้างในที่ของบุคคลอื่น มีหลักฐานดังต่อไปนี้

                    – หนังสือยินยอมเจ้าของที่ดิน

                    – ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด

                    – รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ

  1. กรณีตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกันกับบุคคลอื่น มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

                    – หนังสือตกลงก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคารโดยวิธีทำผนังร่วมกัน 1 ชุด

                    – ภาพถ่ายเอกสาร, สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินผู้ขอทำความตกลง 1 ชุด

                    – ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 ชุด

                    – รับรองเอกสารถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ

  1. ขณะนี้กองช่าง มีแบบบ้านบริการประชาชน 30 แบบ

                    – มีอาคารชั้นเดียวและสองชั้น

                    – ขณะนี้เทศบาลได้ใช้เทศบัญญัติเรื่องควบคุมอาคารฉบับใหม่แล้ว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่กองช่าง

  1. หน้าที่อื่นๆ ที่ต้องขออนุญาตกับกองช่าง

                    – ขอกองวัสดุในเขตทางหลวงเทศบาล

                    – ตัด คัดหินทางเท้าคอนกรีต

                    – เชื่อมท่อระบายน้ำจากอาคารลงสู่ท่อสาธารณประโยชน์

แบบบ้านมาตรฐาน ขออนุญาตก่อสร้าง

ของเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด

          การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการบริการประชาชน ถือได้ว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของกรมการปกครอง ประกอบกับนโยบายของ รัฐบาล และกระทรวงมหาดไทยที่เร่งรัดให้มีการปรับปรุงการบริการประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

          กรมการปกครองพิจารณาเห็นว่าในปัจจุบันนี้ ปัญหาที่ประชาชนส่วนใหญ่มักประสบเมื่อต้องการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยก็คือ การต้องเสียเวลา และค่า ใช้จ่ายในการเขียนแบบ ออกแบบ และรับรองแบบเพื่อนำไปยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ฉะนั้น เพื่อเป็นการอำนวย ความ สะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายในการติดต่อขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพักอาศัยแก่ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ อันได้แก่ เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมการปกครองจึงได้จัดทำหนังสือแบบบ้านมาตรฐาน บ้านพักอาศัยไว้บริการแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย หรือ ประชาชนผู้มีความประสงค์จะใช้แบบดังกล่าวในการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารต่อท้องถิ่นนั้นๆ โดยไม่คิดมูลค่า จำนวน 20 แบบ ประกอบด้วย

  1. แบบบ้านชั้นเดียว 5 แบบ
  2. แบบบ้านใต้ถุนสูง 5 แบบ
  3. แบบบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ 5 แบบ
  4. แบบบ้าน 2 ชั้น 5 แบบ

กรมการปกครองหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แบบมาตรฐานบ้านพักอาศัยนี้ จะสามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด เวลาค่าใช้จ่าย และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลงอีกด้วย

อนึ่ง กรมการปกครองถือว่า “ความเป็นเลิศในทางบริการ คือ รากฐานของการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น” ซึ่งกรมการปกครองจะได้เร่งรัดและ หาหน ทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ของท้องถิ่นให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน และเป็นที่พึ่งของประชาชนยิ่งๆ ขึ้น

ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  1. สัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
  2. อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  3. 3. ต้องไม่เคยได้รับสิทธิ์ประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ 

สำหรับการลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปี 2563 จะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับเงินในปีงบประมาณ 2564 (คือเดือนตุลาคม 2563-กันยายน 2564) ดังนั้น ผู้ที่ลงทะเบียนในปี 2563 จะยังไม่ได้รับเงินในทันที เพราะจะได้รับเงินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ผู้ที่สามารถลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพในปี 2563 ได้ คือ

  1. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน
  2. ผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งนับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน2564 ดังนั้นต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2504 จึงจะมีสิทธิ์ลงทะเบียนล่วงหน้าในปี 2563 เพื่อรอรับเงินในปีงบประมาณ 2564 (สำหรับผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎรระบุเฉพาะปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ)
  3. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว แต่มีการย้ายภูมิลำเนา เช่น เคยลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพที่จังหวัดชลบุรี แต่ปีนี้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่ตำบลหนองเต่า จังหวัดลพบุรี  จะต้องไปลงทะเบียนใหม่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า

1. รับเงินสดด้วยตนเอง
2. รับเงินสดโดยผู้รับมอบอำนาจ

3. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารนามผู้มีสิทธิ
4. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้รับมอบอำนาจ

1.ผู้พิการรายใหม่ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน และผู้พิการที่ย้ายภูมิลำเนาเข้ามาใหม่ ก่อนหรือภายในเดือนพฤศจิกายนของปีนั้น
2. ผู้พิการซึ่งจะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้

– มีสัญชาติไทย
– มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน
– มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
– ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ

ขั้นตอนการยื่นคำขอลงทะเบียนเบี้ยความพิการ

ให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ยื่นคำขอลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ ต่อองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า  ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. ในวันเวลาราชการ

คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการจะต้องนำหลักฐานประกอบแบบคำขอลงทะเบียนดังนี้

  1. บัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการพร้อมสำเนา
  2. ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
  3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการผ่านธนาคาร
  4. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ดูแลคนพิการ กรณีเป็นผู้ยื่นคำขอแทนคนพิการ

 

ในการยื่นคำขอลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ จะต้องแสดงความประสงค์ของรับเงินเบี้ยความพิการโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง

  1. รับเงินสดด้วยตนเอง
  2. รับเงินสดโดยผู้ดูแลคนพิการ
  3. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารนามผู้มีสิทธิ
  4. โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้ดูแลคนพิการ