แผนพัฒนาการศึกษา 3 ปี (2558-2560)

แผนงานการศึกษา

เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 49   

ที่บัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐ  เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น  ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 6 พ.ศ.2542) มาตรา 67 (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 16 (9) การจัดการศึกษา และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 41  ได้บัญญัติไว้ว่า  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม  ความเหมาะสม  และความต้องการภายในท้องถิ่น  ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา  ซึ่งเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ยึดทางสายกลางบนพื้นฐานของความพอดี  พอเพียง  ความสมดุลพอดี  พอประมาณอย่างมีเหตุมีผล  เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคน  ซึ่งสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552  – พ.ศ.2559)  โดยมียึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ยึดทางสายกลางอยูบนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รูจักพอประมาณ อยางมีเหตุผล มีความ รอบรูเทาทันโลก เพื่อมุงใหเกิด การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยูดีมีีสุขของคนไทย เกิดการบูรณาการแบบองครวม ที่ยึด “คน” เปนศูนยกลางของการพัฒนาอยาง มี “ดุลยภาพ” ทั้ง                   ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดลอม เปนแผนที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษา ทุกระดับ รวมทั้งเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษา กับการพัฒนาดานตาง ๆ ทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดลอม วิทยาศาสตร และเทคโนโลยี เปนตน โดยคํานึงถึงการพัฒนาอยางตอเนื่องตลอดชีวิต  โดยมีเจตนารมณเพื่อมุง (1) พัฒนาชีวิตใหเปน “มนุษยที่สมบูรณทั้ง ทางรางกาย จิตใจ สติปญญา ความรูและคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถอยู รวมกับผูอื่นไดอยางมีความสุข” และ (2) พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความเขมแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ดาน คือ เปนสังคมคุณภาพ สังคมแหง ภูมิปญญาและการเรียนรู และสังคมสมานฉันทและเอื้ออาทรตอกัน   และแผนพัฒนาท้องถิ่นได้มุ่งเน้นให้คนในท้องถิ่น  และชุมชนได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  ความรู้  ความสามารถ  มีทักษะการประกอบอาชีพ  และความมั่นคงในการดำรงชีวิต  เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้ตนเองนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว  ชุมชน  และสังคม  ให้เกิดภูมิปัญญา  และการเรียนรู้  ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีความรู้  คู่คุณธรรม  ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และสามารถจัดการองค์ความรู้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบกับนโยบายการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษา  และ มีภารกิจจัดการศึกษาประการใดประการหนึ่ง  หรือทั้ง  5  ประการ  ดังนี้

1.       การจัดการศึกษาปฐมวัย

2.       การจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐาน

3.       การจัดบริการให้ความรู้ด้านอาชีพ

4.       การจัดการส่งเสริมกีฬา  นันทนาการ  และกิจกรรมเด็กเยาวชน

การดำเนินงานด้านการศาสนา  การบำรุงศิลปะ  จารีต  ประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่เอกสารแนบ

คอมเมนท์